ข่าวเด่นการศึกษาไทย

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประธานคุรุสภาคนใหม่ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์


ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานในวาระนี้คือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์


ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ เกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2489 สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา) เกียรติ นิยม ครุศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Ph.D. (Higher Education) University of Pittsburgh สหรัฐอเมริกา


เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังเกษียณราชการ เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการคุรุสภาศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ เป็นภาคีสมาชิก สาขาศึกษาศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์ และการเมืองราชบัณฑิตยสถาน


อาจารย์ไพฑูรย์เป็นบุคลากรทางการศึกษาที่ให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการศึกษามาโดยตลอด ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นนิสิตในคณะครุศาสตร์ จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ทั้งยังเป็นนักเขียนบทความที่มีผลงานสม่ำเสมอ


ครุสภาเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นในสมัย นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี นายทวี บุณยเกตุ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา ธิการ ได้เล็งเห็นปัญหาวิกฤตในวิชาชีพครู คือคนดี คนเก่ง ไม่อยากเรียนครู


ขณะที่ครูเก่ง ครูดี มีความสามารถละทิ้งอาชีพครูไปประกอบอาชีพอื่น จึงได้ตราพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตวิชาชีพครูดังกล่าว


คุรุสภามีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินการในเรื่องครู นโยบายทางการศึกษา และวิชาการศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยครู รักษาผลประโยชน์และส่งเสริมวิทยฐานะของครู


ต่อมาสมัยรัฐบาลพันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี นาย ปองพล อดิเรกสาร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตราพระราชบัญญัติสภา ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546


โดยปรับปรุงคุรุสภาเดิม เป็นสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา แต่ใช้ชื่อเดิม คือ "คุรุสภา"


ขณะที่กำหนดบทบาทให้เป็นสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออก และเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับ ดูแล การปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ยังต้องพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อยกระดับวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง


คุรุสถาบริหารงานโดยองค์คณะบุคคล คือคณะกรรมการคุรุสภา มีจำนวน 39 คนจากบุคคล 4 กลุ่ม


คือกรรมการโดยตำแหน่ง 8 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน กรรมการจากผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษา และสถาบันอุดม ศึกษาเอกชน 4 คน และกรรมการจาก ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา 19 คน


ตำแหน่งประธานกรรมการ คณะรัฐมน ตรีเป็นผู้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูง มีเลขาธิการคุรุสภา เป็นเลขานุการของคณะกรรมการคุรุสภา


คุรุสภาเป็นสภาวิชาชีพเช่นเดียวกันสภาวิชาชีพอื่น มีหน้าที่สำคัญคือออกใบอนุญาตและถอนใบอนุญาต การประกอบวิชาชีพ ควบคุมให้สมาชิกปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด และควบคุมจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ


คุณสมบัติสำคัญของสมาชิกสามัญ คือต้องเป็นผู้มีใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้


วันนี้ปัญหาของคุรุสภายังมีปรากฏหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องใบประกอบวิชาชีพ และการส่งเสริมวิทยฐานะของสมาชิกผู้ที่เป็นครูวิชาชีพ


การอยู่ในวิชาชีพนี้มายาวนานของอาจารย์ไพฑูรย์ ประกอบกับอุปนิสัยเคร่งขรึม อาจารย์จึงน่าจะเป็นผู้แก้ปัญหาให้สำเร็จเสร็จสิ้นได้ภายในวาระการดำรงตำแหน่งนี้เพื่อครูและการศึกษาไทยจะได้พ้นจากวังวนเสียที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น